Thailand

A sea of fog in Kaeng Krachan National Park, Phetchaburi, Thailand. (Photo / © Getty Images) 

Compilation of Recommendations Issued to Thailand on Issues Related to Democratic Space

This compilation, prepared by the Office of the High Commissioner for Human Rights (OHCHR) South-East Asia Regional Office, includes publicly available recommendations made to Thailand by the UN human rights mechanisms on the issues related to democratic space from 2014 to 2020.

การรวบรวมฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยรวบรวมข้อเสนอแนะแก่ประเทศไทยที่เปิดเผยต่อสาธารณชนจากกลไกสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ประชาธิปไตยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2563

COVID-19: Focus on Persons Deprived of their Liberty

COVID-19 has been declared a global pandemic and as it is spreading, identified vulnerabilities such as the situation of persons deprived of their liberty in prisons, administrative detention centres, immigration detention centres and drug rehabilitation centres, require a specific focus. Persons deprived of their liberty face higher vulnerabilities as the spread of the virus can expand rapidly due to the usually high concentration of persons deprived of their liberty in confined spaces and to the restricted access to hygiene and health care in some contexts. International standards highlight that states should ensure that persons in detention have access to the same standard of health care as is available in the community, and that this applies to all persons regardless of citizenship, nationality or migration status.

โควิด-19: สำหรับผู้ถูกจำกัดสิทธิและเสรีภาพ

โควิด-19 ถูกประกาศให้เป็นโรคระบาดระดับโลกและขณะที่ไวรัสกำลังแพร่ระบาดอยู่นี้ กลุ่มที่มีความเปราะบาง อาทิเช่น สถานการณ์ของผู้ที่ถูกจำกัดสิทธิและเสรีภาพในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรือนจำ ศูนย์ควบคุมตัวด้วยคำสั่งของฝ่ายบริหาร ศูนย์กักกันผู้อพยพเข้าเมือง และศูนย์บำบัดยาเสพติด จำเป็นต้องได้รับความสนใจเป็นพิเศษ  ผู้ที่ถูกจำกัดสิทธิและเสรีภาพกำลังเผชิญกับความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น ในขณะที่การระบาดของไวรัสสามารถแพร่ขยายได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากการอยู่รวมกันอย่างหนาแน่นของผู้ที่ถูกกักตัวในพื้นที่และการเข้าถึงการดูแลด้านสุขอนามัยและการดูแลด้านสุขภาพที่จำกัดในบางบริบท มาตรฐานสากลเน้นย้ำให้รัฐต่าง ๆ รับประกันว่า ผู้ที่ถูกควบคุมตัวสามารถเข้าถึงมาตรฐานการดูแลด้านสุขภาพได้เช่นเดียวกับที่ชุมชนได้รับ ทั้งยังต้องปฏิบัติต่อทุกคนโดยไม่คำนึงถึงความเป็นพลเมือง สัญชาติ และสถานภาพการย้ายถิ่น

แนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการใช้อาวุธที่มีความร้ายแรงต่ำในการบังคับใช้กฎหมาย (OHCHR Guidance on Less-Lethal Force in Law Enforcement)

เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายจะใช้กำลังเฉพาะเมื่อมีความจำเป็นอย่างยิ่ง และในระดับที่สมควรแก่การปฏิบัติตามหน้าที่

หลักจริยธรรมสำหรับเจ้าพนักงานผู้บังคับใช้กฎหมาย


การนำเอาข้อบังคับข้างต้นไปใช้อย่างเหมาะสมเป็นเรื่องที่ท้าทาย เจ้าหน้าพนักงานผู้บังคับใช้กฎหมายมีหน้าที่รับผิดชอบอย่างมากในการตัดสินใจว่าจำเป็นต้องใช้กำลังในสถานการณ์หนึ่งสถานการณ์ใดหรือไม่และหากจำเป็น จะต้องใช้มากเท่าไหร่เพื่อให้เหมาะสมกับอันตรายที่พวกเขาต้องเผชิญ พวกเขามักจะจำเป็นต้องสร้างสมดุลให้ได้ภายในเวลาไม่กี่วินาทีภายใต้สภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนและเป็นอันตราย โดยต้องปฏิบัติตามหลักการทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการใช้กำลังและกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากลเสมอ และความเสียหายจากความผิดพลาดก็สูงมาก หากมีการสูญเสียชีวิตจากการใช้กำลังโดยไม่จำเป็น ผลลัพธ์ก็คือโศกนาฎกรรมของมนุษย์ที่ไม่อาจจะแก้ไขได้

หลักการพื้นฐานว่าด้วยการใช้กำลังและอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย (OHCHR Basic Principles on the Use of Force and Firearms by Law Enforcement Officials)


รับรองโดยที่ประชุมใหญ่สหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดครั้งที่ 8 ณ กรุงฮาวาน่า ประเทศคิวบา เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ถึง วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2533

ประมวลหลักปฏิบัติสําหรับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย (OHCHR Code of Conduct for Law Enforcement Officials)


รับรองโดยสมัชชาสหประชาชาติ มติที่ 34/169 ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2522

Fact Sheets and Manuals (Thai Language)

Fact Sheets and Manuals (Thai Language)