อ่านภาษาไทยด้านล่าง
The European Union and the UN Human Rights Office launch a joint project to help prevent and respond to torture and enforced disappearances in Thailand
Bangkok (22 February 2024) – The European Union (EU) announces a financial support of €2.4 million to the UN Human Rights Office (OHCHR) for South-East Asia for a three-year project titled “Strengthen National Capacity to Prevent and Respond to Torture and Enforced Disappearances in Thailand”, to support the Royal Thai Government and other national stakeholders to implement the new anti-torture and enforced disappearance law in line with international human rights standards.
H.E. Mr David Daly, Ambassador of the European Union to Thailand said, “The EU is a long-standing partner of Thailand in promoting and cooperating on universal values, including human rights and sustainable development. We are happy to help Thailand in its commitment to eradicating torture and enforced disappearances through the enforcement of the recent law. The EU supports a society where every individual is free from torture and violence.”
“One year following the enforcement of the law, which represents a critical milestone in preventing and combating torture and enforced disappearances in Thailand, we are pleased to see that the Government is putting in place the necessary operational guidelines and regulations required by the Act. It is important that they incorporate relevant international standards and the capacity of law enforcement officers and other relevant officials is strengthened to ensure the effective implementation of the Act,” said Ms. Cynthia Veliko, Representative of the UN Human Rights Office for South-East Asia in Bangkok.
The EU-OHCHR-project aims to provide technical expertise to the National Human Rights Commission of Thailand, the Committee on the Prevention and Suppression of Torture and Enforced Disappearances and the subcommittees established under the law that will investigate the complaints of torture and enforced disappearances. This includes the support for the development of monitoring guidelines that meet international standards, and the establishment of confidential reporting mechanisms.
The project’s objectives are to assist Thailand to more effectively prevent and tackle torture and enforced disappearances by strengthening the legal framework, policies and practices; improving the responsiveness of those responsible at all levels; supporting the development of effective mechanisms, including independent national institutions to monitor, document and report on torture and enforced disappearances; and increasing public awareness of the new law as well as empowering the victims and their families to claim their rights.
The Prevention and Suppression of Torture and Enforced Disappearance Act B.E.2565 (2022) came into force in February 2023. The promulgation of this law is a critical milestone in combating torture, ill-treatment and enforced disappearances in Thailand. In 2007, Thailand became a party to the Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment (CAT). In 2012, Thailand signed the Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance (ICPPED); it still has to ratify it.
สหภาพยุโรปและสำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติประกาศโครงการฯ ร่วมเพื่อสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายในประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร (22 กุมภาพันธ์ 2567) – สหภาพยุโรป (EU) ประกาศให้ทุนสนับสนุนจำนวนกว่า 92 ล้านบาทแก่สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในโครงการ “เสริมสร้างศักยภาพภายในประเทศเพื่อป้องกันและตอบสนองต่อการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย (Strengthen National Capacity to Prevent and Respond to Torture and Enforced Disappearances in Thailand)” เป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อสนับสนุนรัฐบาลไทยและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ ในการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2567 ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
ฯพณฯ นายเดวิด เดลี (David Daly) เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย กล่าวว่า “สหภาพยุโรปเป็นพันธมิตรอันยาวนานของประเทศไทยที่สนับสนุนและทำงานร่วมกันบนพื้นฐานของค่านิยมสากล ไม่ว่าจะด้านสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาที่ยั่งยืน เรามีความยินดีที่จะสนับสนุนประเทศไทยให้ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ในการยุติการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายด้วยการบังคับใช้พ.ร.บ. ฉบับนี้ ทั้งนี้สภาพยุโรปสนับสนุนการสร้างสรรค์สังคมที่ปราศจากการทรมานและความรุนแรง”
“ผ่านไปแล้วหนึ่งปีหลังจากที่มีการบังคับใช้ พ.ร.บ.ฯ ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายในประเทศไทย เรายินดีที่เห็นรัฐบาลไทยจะจัดทำแนวทางปฏิบัติการและข้อบังคับต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในพ.ร.บ.ฯ โดยแนวทางปฏิบัติการและข้อบังคับต่างๆ เหล่านี้จำเป็นต้องสอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และมีการเสริมสร้างศักยภาพของผู้บังคับใช้กฎหมายและเจ้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การบังคับใช้ พ.ร.บ.ฯ เป็นไปอย่างมีสิทธิภาพ” คุณซินเธีย เวลิโก้ (Cynthia Veliko) ผู้แทนประจำภูมิภาค สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ กรุงเทพมหานคร กล่าว
โครงการร่วมระหว่างสหภาพยุโรปและสำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติมีจุดประสงค์ในการสร้างความเชี่ยวชาญเชิงเทคนิคให้กับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย รวมถึงคณะอนุกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายดังกล่าว ซึ่งจะทำหน้าที่สอบสวนข้อร้องเรียนการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย อีกทั้งยังมุ่งสนับสนุนการร่างแนวทางการติดตามที่สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ รวมถึงการจัดตั้งกลไกการรายงานข้อเท็จจริงที่เป็นความลับ
โครงการฯ ยังมีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนประเทศไทยให้สามารถป้องกันและรับมือกับการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกรอบกฎหมาย นโยบาย และการปฏิบัติ พัฒนาการตอบสนองของผู้ที่กี่ยวข้องในทุกระดับ สนับสนุนการจัดตั้งกลไกที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานอิสระในระดับประเทศเพื่อติดตาม บันทึกข้อมูล และรายงานการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย รวมถึงเพิ่มความตระหนักรู้ของสาธารณชนที่มีต่อกฏหมายใหม่ฉบับนี้ และเสริมสร้างพลังให้กับผู้เสียหายและครอบครัวในการเรียกร้องสิทธิของตน
ประเทศไทยบังคับใช้พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา การประกาศใช้พ.ร.บ. ฉบับนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการยุติการทรมาน การกระทำทารุณ และการกระทำให้บุคคลสูญหายในประเทศไทยให้หมดสิ้น ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment – CAT) ในปี พ.ศ. 2550 และได้ลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการกระทำให้บุคคลสูญหาย (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance – ICPPED) ในปี พ.ศ. 2555 โดยยังไม่มีการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาฉบับดังกล่าว