อ่านภาษาไทยด้านล่าง

UN Human Rights Office welcomes court ruling dismissing criminal defamation case against women human rights defenders in Thailand

BANGKOK (30 August 2023) – The UN Human Rights Office (OHCHR) for South-East Asia welcomed the acquittal of three prominent women human rights defenders charged with criminal defamation by Thammakaset Company Limited, a Thai poultry company.

The criminal defamation cases against women human rights defenders – Angkana Neelapaijit, member of the UN Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances; Puttanee Kangkun, Director of rights group The Fort; and Thanaporn Saleephol, former communications specialist at Fortify Rights – resulted from their social media posts which addressed human rights issues and expressed support for academics and human rights defenders who had been sued by Thammakaset for raising issues of public concern.

After nearly four years of proceedings since the first case, the South Bangkok Criminal Court, on 29 August, dismissed the charges. The ruling cited insufficient evidence of direct defamation of the company and acknowledged the women human rights defenders’ posts were made in good faith. Despite the lengthy court process, the ruling represents an important milestone in the implementation of international human rights standards on business and human rights in relation to the work of human rights defenders who raise legitimate concerns about alleged corporate abuse.

“While charges against human rights defenders are gradually being dropped, strategic lawsuits against public participation (SLAPPs) continue to be used by Thailand’s private sector as a means to harass and silence human rights defenders through lengthy and costly litigation, perpetuating an atmosphere of fear and intimidation. All too often, these tactics have a disproportionately detrimental impact on women human rights defenders who face specific vulnerabilities because of their gender,” said Katia Chirizzi, Deputy South-East Asia Representative of the UN Human Rights Office in Bangkok.

Thailand has recently adopted its second National Action Plan on Business and Human Rights, and it will be critical that there is strengthened focus on protection and remedy as articulated in the UN Guiding Principles on Business and Human Rights and that adherence to international human rights obligations and standards forms the basis for this next Plan’s implementation.

In addition to human rights defenders, there is a troubling pattern of companies filing similar lawsuits against members of parliament, politicians, and journalists in recent years which undermines the exercise of the fundamental right to freedom of opinion and expression. Despite the settlement of some individual cases, the continued existence of SLAPP cases in the judicial system runs contrary to the strong commitments Thailand has made, including in the last cycle of their Universal Periodic Review.

“SLAPP cases lead to self-censorship, significant stress and financial burden through protracted litigation and also can jeopardize the safety and security of those speaking out” Chirizzi said. “Increased awareness and consistent compliance by both the State and private sector to the UN Guiding Principles on Business and Human Rights is essential to strengthen protections for human rights defenders, discourage companies from filing such lawsuits, and to ensure prompt dismissal by courts.”

ENDS

For more information and media requests, please contact: Wannaporn Samutassadong (+66 65 986 0810) / @email) 

Tag and share:

Twitter: @OHCHRAsia

Facebook: OHCHRAsia 

Instagram: @ohchr_asia

______________________

 

สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติยินดี ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องนักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้หญิงในประเทศไทย ข้อหาหมิ่นประมาททางอาญา

กรุงเทพมหานคร (30 สิงหาคม 2566) – สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยินดีที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องคดีที่บริษัท ธรรมเกษตร จำกัด ฟ้องคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาททางอาญา นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้หญิงสามคน

คดีหมิ่นประมาททางอาญาซึ่งมีนักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้หญิงสามคนเป็นจำเลย ประกอบด้วย อังคณา นีละไพจิตร สมาชิกคณะทำงานแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการกระทำให้บุคคลสูญหายโดยถูกบังคับหรือไม่สมัครใจ  พุทธณี กางกั้น ผู้อำนวยการองค์กรสิทธิมนุษยชน  The Fort และธนภรณ์ สาลีผล อดีตผู้ทำงานสื่อสารขององค์กร Fortify Rights จากการโพสต์ลงโซเชียลมีเดียถึงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน และให้กำลังใจนักวิชาการและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ถูกบริษัทธรรมเกษตรฯ ฟ้องร้องจากการหยิบยกประเด็นที่เป็นข้อห่วงกังวลในสังคม

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำพิพากษายกฟ้องข้อกล่าวหาดังกล่าวหลังจากที่กระบวนการทางกฎหมายดำเนินมากว่าสี่ปีนับจากการพิจารณาคดีแรก โดยคำพิพากษากล่าวว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอที่ถือได้ว่าข้อความที่จำเลยโพสต์เป็นการหมิ่นประมาทบริษัทธรรมเกษตรฯ โดยตรง และมองว่าการแสดงความคิดเห็นของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้หญิงทั้งสามคนมีเจตนาสุจริต ถึงแม้การพิจารณาคดีของศาลจะยาวนาน แต่คำพิพากษาดังกล่าวนับเป็นหมุดหมายสำคัญของการบังคับใช้มาตรฐานระหว่างประเทศด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้หยิบยกข้อห่วงกังวลต่อการกระทำละเมิดของภาคธุรกิจอย่างชอบธรรม

“แม้จะมีการยกฟ้องข้อหานักปกป้องสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง การฟ้องคดียุทธศาสตร์อันเป็นปฏิปักษ์ต่อการมีส่วนร่วมของสังคม หรือการฟ้องคดีปิดปาก (Strategic Lawsuits Against Public Participation หรือ SLAPPs) ยังคงถูกใช้โดยภาคเอกชนเพื่อคุกคามและปิดปากนักปกป้องสิทธิมนุษยชนเนื่องจากคดีความมีความยาวนานและค่าใช้จ่ายสูง ก่อให้เกิดบรรยากาศของการถูกข่มขู่และความหวาดกลัว บ่อยครั้งจนเกินไปที่กลยุทธเหล่านี้สร้างผลเสียอย่างไม่ได้สัดส่วนต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้หญิงซึ่งต้องเผชิญความเปราะบางจากเพศสภาพอยู่แล้ว” คาเทีย ชิริซซี รองผู้แทนประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ณ กรุงเทพมหานคร กล่าว

ประเทศไทยได้รับรองแผนปฏิบัติการแห่งชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนฉบับที่สองเมื่อไม่นานมานี้ โดยมีความจำเป็นอย่างมากที่การปกป้องและเยียวยาจะได้รับความสำคัญมากขึ้น ตามหลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (The UN Guiding Principles on Business and Human Rights) รวมถึงการนำมาตรฐานและพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนมาเป็นรากฐานของการบังคับใช้แผนปฏิบัติการนี้

นอกจากนักปกป้องสิทธิมนุษยชนแล้ว ยังพบบริษัทเอกชนฟ้องคดีในลักษณะเดียวกันต่อสมาชิกรัฐสภา นักการเมือง และนักข่าวในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาอย่างเป็นแบบแผน สั่นคลอนสิทธิพื้นฐานในเสรีภาพการแสดงออกและความคิดเห็น แม้ว่าคดีส่วนหนึ่งจะยุติลง แต่การมีอยู่ของคดีฟ้องปิดปากในกระบวนการยุติกรรมนั้นสวนทางกับคำมั่นที่ประเทศไทยได้ให้ไว้อย่างแข็งขัน รวมทั้งในการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน (Universal Periodic Review) ตามวงรอบล่าสุดของประเทศไทย

“การฟ้องคดีปิดปากก่อให้เกิดการเซ็นเซอร์ตัวเอง สร้างความเครียดและภาระทางการเงินจากกระบวนการยุติธรรมที่ลากยาว อีกทั้ง ทำลายความมั่นคงปลอดภัยของผู้ที่ออกมาแสดงความคิดเห็น” คาเทียกล่าว “การตระหนักรู้ที่มากขึ้นและการปฏิบัติตามหลักการชี้แนะด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติของทั้งภาครัฐและเอกชนนั้น มีความสำคัญในการสร้างความเข็มแข็งในการปกป้องนักปกป้องสิทธิมนุษยชน อีกทั้งจะทำให้บริษัทเอกชนไม่อยากฟ้องคดีในลักษณะดังกล่าว และทำให้ศาลยกฟ้องคดีโดยเร็ว”

จบ

หากต้องการข้อมูลหรือสอบถามเพิ่มเติม โปรดติดต่อ: วรรณภร สมุทรอัษฎงค์ (065 986 0810 / @email) ประจำสำนักงานฯ ที่กรุงเทพมหานคร

แท็กและแชร์:

Twitter: @OHCHRAsia

Facebook: OHCHRAsia 

Instagram: @ohchr_asia