Image

UN Human Rights Office welcomes enactment of historic marriage equality law in Thailand, legalising marriage between same-sex couples  

 

BANGKOK (23 January 2025) – The UN Human Rights Office (OHCHR) for South-East Asia welcomes the entry into force of Thailand’s historic Marriage Equality Act, which provides equal recognition of marriage for same-sex couples and paves the way for greater equality and inclusivity where all people can enjoy equal rights to marry regardless of their gender identity and sexual orientation.

 

The new law, which officially came into effect on 23 January 2025, ensures that all couples, regardless of their gender identity and sexual orientation, have equal access to marriage and legal recognition, and benefits. This includes equal treatment in the context of medical care, property, inheritance, taxation and adoption of children, among others.

 

“This is a momentous achievement for Thailand and the LGBTIQ+ community, following over a decade of advocacy and tireless efforts from LGBTIQ+ activists, human rights defenders and civil society organizations to create a more inclusive and equal society in Thailand, where people can marry who they love no matter who they are,” said Katia Chirizzi, Officer in Charge of the UN Human Rights Office for South-East Asia. “It sets a positive example of leadership within the ASEAN and wider region.”

 

While this new legislation represents a significant step forward, LGBTI+ individuals in Thailand continue to face discrimination and social stigma in many areas, including employment, education, and healthcare. Same-sex couples also encounter barriers, including in the context of other legislation relating to parenting. It is crucial to continue the work to ensure full equality in practice.

  

"We encourage the Government of Thailand to effectively implement the new law and further advance gender equality and inclusion by ensuring legal protection against discrimination, including through the passage of the Anti-Discrimination Bill and the Gender Recognition Bill,” Chirizzi said. “These steps are key to foster a society where diversity is celebrated, and everyone can live with dignity and free from discrimination.”

 

The Marriage Equality Act also raises the legal age of marriage to eighteen from seventeen, aligning the minimum legal age for marriage with the Convention on the Rights of the Child, to which Thailand has been a State party since 1992.

 

ENDS

 

For more information and media requests, please contact:

Wannaporn Samutassadong - +66 65 986 0810 / @email

 

Tag and share:

Twitter: @OHCHRAsia

Facebook: @OHCHRAsia

Instagram: @ohchr_asia

 

สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติยินดีที่ประเทศไทยบังคับใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียมครั้งประวัติศาสตร์ ทำให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถแต่งงานอย่างถูกกฎหมาย

 

กรุงเทพมหานคร (23 มกราคม 2568) สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ประจำภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ยินดีที่ประเทศไทยบังคับใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียมครั้งประวัติศาสตร์ ซึ่งให้การรับรองอย่างเท่าเทียมต่อการแต่งงานระหว่างคู่รักเพศเดียวกัน และปูทางไปสู่ความเท่าเทียมและการมีส่วนร่วมที่มากขึ้น ที่ซึ่งทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการแต่งงาน ไม่ว่าจะมีอัตลักษณ์ทางเพศหรือเพศวิถีใด

 

กฎหมายฉบับใหม่ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 23 มกราคม 2568 นี้ ทำให้คู่รักทุกคู่ ไม่ว่าจะมีอัตลักษณ์ทางเพศหรือเพศวิถีแบบใด สามารถเข้าถึงการแต่งงานและการได้รับรองทางกฎหมาย รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงการได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมในบริบทของการได้รับการดูแลทางการแพทย์ ทรัพย์สิน การรับมรดก การเก็บภาษี และการรับบุตรบุญธรรม นอกเหนือจากข้ออื่นๆ

 

ครั้งนี้ถือเป็นความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทยและชุมชนผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTIQ+) หลังจากการรณรงค์มากกว่าทศวรรษและความพยายามอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยของนักกิจกรรม นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และองค์กรภาคประชาสังคม ที่สนับสนุนสิทธิของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ เพื่อสร้างสรรสังคมที่มีส่วนร่วมและเท่าเทียมยิ่งขึ้นในประเทศไทย ที่ซึ่งทุกคนสามารถแต่งงานกับคนที่เขารัก ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ใดคาเทีย ชิริซซี รักษาการแทนผู้แทนสำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว นับเป็นตัวอย่างที่ดีของความเป็นผู้นำในอาเซียนและภูมิภาคโดยรวม

 

แม้ว่ากฎหมายฉบับใหม่นี้จะถือเป็นก้าวสำคัญ ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยยังคงเผชิญกับการเลือกปฏิบัติและการตีตราทางสังคมในหลายเรื่อง รวมถึงการจ้างงาน การศึกษา และการบริการสุขภาพ คู่รักเพศเดียวกันยังคงเผชิญอุปสรรค ทั้งในบริบทของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ครองบุตร ด้วยเหตุนี้ การผลักดันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมอย่างแท้จริงในทางปฏิบัติจึงมีความสำคัญอย่างมาก

 

เราขอให้รัฐบาลไทยบังคับใช้กฎหมายใหม่นี้อย่างมีประสิทธิภาพ และผลักดันความเท่าเทียมทางเพศและการมีส่วนร่วมยิ่งขึ้นไป ด้วยการให้ความคุ้มครองทางกฎหมายต่อการเลือกปฏิบัติ รวมถึงการผ่านร่างพระราชบัญญัติขจัดการเลือกปฏิบัติ และพระราชบัญญัติการรับรองอัตลักษณ์ทางเพศ คาเทีย กล่าว ขั้นตอนเหล่านี้เป็นกุญแจสำคัญในการเสริมสร้างสังคมที่ยกย่องความหลากหลาย และคนทุกคนสามารถดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี ปราศจากการเลือกปฏิบัติ

 

กฎหมายสมรสเท่าเทียมนี้ยังได้ปรับเพิ่มอายุที่สามารถแต่งงานได้อย่างถูกกฎหมายเป็น 18 ปีจากเดิม 17 ปี ซึ่งเป็นไปตามอายุขั้นต่ำสำหรับการสมรสที่ได้ระบุไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นรัฐภาคีตั้งแต่ปี 2535

 

จบ

 

หากมีคำถามหรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม โปรดติดต่อ:

วรรณภร สมุทรอัษฎงค์ โทร. 065 986 0810 / อีเมล @email

 

Tag and share:

Twitter: @OHCHRAsia

Facebook: @OHCHRAsia

Instagram: @ohchr_asia