NEWS RELEASE: Thailand – UN Human Rights Office welcomes acquittal of human rights defenders
Thai version below
อ่านภาษาไทยด้านล่าง
BANGKOK (8 June 2020) – The UN Human Rights Office for South-East Asia welcomed the acquittal Monday of two human rights defenders who had been charged with criminal defamation by Thai poultry producer Thammakaset.
The Bangkok Criminal Court reached a verdict in the case against Nan Win, a former migrant worker from Myanmar, and Sutharee Wannasiri, a Thai human rights defender who formerly worked with rights group Fortify Rights. The charges stemmed from the pair’s involvement in organizing a press conference to discuss labor rights and sharing a video critical of migrant worker conditions at Thammakasat on social media.
Companies in Thailand have long been criticized for employing so-called “strategic lawsuits against public participation,” known as “SLAPP” cases, to silence or harass civil society organizations and human rights defenders.
“This judgement shows how individuals raising legitimate concerns about alleged business abuses can be protected from SLAPP cases in accordance with the UN Guiding Principles on Business and Human Rights,” said Cynthia Veliko, South-East Asia Regional Representative for the UN Human Rights Office in Bangkok.
In December 2019, Thailand become the first Government in Asia to adopt a National Action Plan on Business and Human Rights. Protecting human rights defenders from SLAPP cases is one of the four key priorities of the plan.
The defamation case against Nan Win and Sutharee Wannasiri is just one of many that had been lodged against human rights defenders and workers by Thammakaset and other business enterprises in Thailand. The majority of SLAPP cases filed in Thailand in 2019 were against women human rights defenders.
“These cases have created an atmosphere of fear, self-censorship and have added to stress, undue financial burden, and concerns for personal safety. It is critical that the protective measures outlined under Thailand’s National Action Plan are urgently and effectively implemented and the practice of SLAPP is eliminated,” Veliko said.
ENDS
For more information and media requests, please contact: in Bangkok, Todd Pitman (+66 63 216 9080 / todd.pitman@un.org) or Wannaporn Samutassadong (+66 65 986 0810 / wannaporn.samutassadong@un.org).
Tag and share – Twitter: @OHCHRAsia and Facebook OHCHRAsia
ประเทศไทย: สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติยินดีกับคำตัดสินยกฟ้อง
คดีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
กรุงเทพมหานคร (8 มิถุนายน 2563) – สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยินดีกับคำตัดสินยกฟ้องนักปกป้องสิทธิมนุษยชนสองคนที่ถูกบริษัทธรรมเกษตร จำกัด ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก ฟ้องฐานหมิ่นประมาท วันนี้
ศาลอาญากรุงเทพได้มีคำพิพากษาคดีฟ้องหมิ่นประมาทนานวิน ชาวเมียนมาอดีตแรงงานข้ามชาติ และสุธารี วรรณศิริ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนและอดีตเจ้าหน้าที่ขององค์กรสิทธิมนุษยชนฟอร์ตี้ฟายไรต์ โดยข้อกล่าวหาเกิดจากที่ทั้งสองคนมีความเกี่ยวข้องในการจัดแถลงข่าวเรื่องสิทธิแรงงานและเผยแพร่วิดีโอที่วิจารณ์สภาพการทำงานของแรงงานข้ามชาติในบริษัทธรรมเกษตรบนสื่อสังคมออนไลน์
บริษัทในประเทศไทยได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์มานานถึง “การฟ้องคดีเชิงยุทธศาสตร์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการมีส่วนร่วมของสังคม” หรือที่รู้จักว่า “การฟ้องคดีปิดปาก” (Strategic Litigation Against Public Participation – SLAPP) เพื่อปิดปากหรือคุกคามองกรค์ภาคประชาสังคมและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
“คำตัดสินคดีนี้ได้แสดงให้เห็นว่าปัจเจกชนผู้แสดงความห่วงกังวลอย่างชอบธรรมถึงการละเมิดในภาคธุรกิจสามารถได้รับการปกป้องจากการฟ้องคดีปิดปากอย่างไร ตามหลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (the UN Guiding Principles on Business and Human Rights)” ซินเทีย เวลิโก้ ผู้แทนประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ณ กรุงเทพมหานคร กล่าว
เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2562 ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียที่รับรองแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน การปกป้องนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจากการฟ้องคดีปิดปากเป็นหนึ่งในข้อปฏิบัติสี่ประการหลักของแผนปฏิบัติการนี้
การฟ้องคดีหมิ่นประมาทนานวิน และสุธารี วรรณศิรินี้ เป็นเพียงหนึ่งในอีกหลายคดีที่บริษัทธรรมเกษตรและบริษัทอื่นๆ ในประเทศไทยฟ้องนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและเหล่าแรงงาน โดยคดีการฟ้องปิดปากส่วนใหญ่ในประเทศไทยในปี 2562 เป็นการฟ้องผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
“คดีเหล่านี้ก่อให้เกิดบรรยากาศความหวาดกลัว การเซ็นเซอร์ตัวเอง และสร้างความเครียด ภาระทางการเงินที่เกินความจำเป็น และความกังวลต่อความปลอดภัยในชีวิต การบังคับใช้มาตรการป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการแห่งชาติของประเทศไทย และยุติการฟ้องคดีปิดปากเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง” เวลิโก้ กล่าว
จบ
หากต้องการข้อมูลหรือสอบถามเพิ่มเติม โปรดติดต่อ ท็อด พิตแมน (+66 63 216 9080 / todd.pitman@un.org หรือ วรรณภร สมุทรอัษฎงค์ (+66 65 986 0810 / wannaporn.samutassadong@un.org)
Tag and share – Twitter: @OHCHRAsia and Facebook OHCHRAsia