อ่านภาษาไทยด้านล่าง (Thai version below)
BANGKOK (31 October 2022) – The UN Human Rights Office for South-East Asia (OHCHR) welcomes the enactment by Thailand of the Prevention and Suppression of Torture and Enforced Disappearance Act, 2022.
The promulgation of this law is a critical milestone in combating torture, ill-treatment and enforced disappearances in Thailand. It includes provisions that will hold perpetrators to account under criminal law and incorporates key principles of non-derogation and non-refoulement, prohibiting officials from expelling, deporting and extraditing a person to another country where they may face substantial risks of torture, cruel, inhuman or degrading treatment or enforced disappearance.
The Act will come into force 120 days after its publication in the Royal Gazette on 25 October 2022.
“The enactment of the Prevention and Suppression of Torture and Enforced Disappearance Act 2022 is a major step in fulfilling Thailand’s commitments to achieving zero tolerance for acts of torture and enforced disappearances, as well as providing justice to the victims of torture and enforced disappearances,” said Cynthia Veliko, Regional Representative of OHCHR Regional Office for South-East Asia.
“With this Act, victims and families of torture and involuntary and enforced disappearances will have a new framework to seek legal redress, and to hold perpetrators of such heinous crimes to account,” said Ms. Veliko.
Thailand has 76 outstanding cases of enforced disappearances with the United Nations Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances that remain unresolved.
Ms. Veliko highlighted three provisions that should still be amended to ensure full compliance with international human rights laws and standards. These include the application of amnesty for offences proscribed under the Act, the admissibility of evidence obtained through torture in criminal proceedings, and the imposition of a statute of limitations for cases of enforced disappearances.
“OHCHR commends Thailand for fulfilling commitments made during its last Universal Periodic Review (UPR) by the enactment of this law. With this domestic legal framework now in place, Thailand can move ahead with ratifying the International Convention on the Protection of All Persons from Enforced Disappearance as well as the Optional Protocol to the Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment” said Ms. Veliko. “The OHCHR Regional Office is available to provide any technical support that the Government may require”.
ENDS
For more information and media requests, please contact: in Bangkok, Wannaporn Samutassadong (+66 65 986 0810 / @email).
Tag and share – Twitter: @OHCHRAsia, Facebook: @OHCHRAsia and Instagram @ohchr_asia
______________________________________
สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติยินดีที่ประเทศไทยประกาศใช้ พรบ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย
กรุงเทพมหานคร (31 ตุลาคม 2565) – สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ หรือ OHCHR ยินดีที่ประเทศไทยประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565
การประกาศใช้กฎหมายนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการปราบปรามการทรมาน การทารุณกรรม และการกระทำให้บุคคลสูญหายในประเทศไทย ซึ่งมีบทบัญญัติในการเอาผิดผู้กระทำความผิดตามกฎหมายอาญา และมีเนื้อหาครอบคลุมหลักการที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น สิทธิในการที่จะไม่ถูกทรมานเป็นสิทธิมนุษยชนที่ไม่อาจระงับชั่วคราวได้ (non-derogation) และหลักการไม่ส่งใครกลับไปเผชิญอันตราย (non-refoulement) ซึ่งป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่ขับไล่ เนรเทศ หรือส่งบุคคลใดไปยังอีกประเทศหนึ่งที่เขาอาจเผชิญความเสี่ยงต่อการกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (cruel, inhuman or degrading treatment) หรือการกระทำให้บุคคลสูญหาย
ทั้งนี้ พระราชบัญญัติดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 120 วันนับแต่การประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา
“การประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 นี้นับเป็นก้าวสำคัญในการปฏิบัติตามคำมั่นของประเทศไทยเพื่อขจัดการกระทำทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหายให้หมดสิ้น และเป็นการให้ความยุติธรรมกับผู้เสียหายจากการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย” ซินเทีย เวลิโก้ ผู้แทนประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าว
พระราชบัญญัตินี้จะทำให้ผู้เสียหายจากการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายโดยบังคับหรือไม่สมัครใจและญาติ มีกรอบทางกฎหมายในการเรียกร้องการเยียวยาทางกฎหมาย รวมถึงการเอาผิดผู้กระทำผิดจากอาชญากรรมอันเลวร้ายนี้
ประเทศไทยมีกรณีการกระทำให้บุคคลสูญหายที่คณะกรรมการแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการกระทำให้บุคคลสูญหายโดยบังคับหรือไม่สมัครใจ (The United Nations Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances) บันทึกว่ายังไม่ได้รับความกระจ่างชัดทั้งสิ้น 76 กรณี
ผู้แทนประจำภูมิภาคฯ เน้นย้ำว่า ยังมีบทบัญญัติในกฎหมายสามประการที่ควรได้รับการแก้ไขเพื่อให้พระราชบัญญัติฯ เป็นไปตามกฎหมายและหลักการระหว่างประเทศอย่างครบถ้วน ได้แก่ การอภัยโทษในฐานความผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ การรับฟังพยานหลักฐานที่ได้จากการทรมานในกระบวนการดำเนินคดีทางอาญา และการกำหนดอายุความของคดีการกระทำให้บุคคลสูญหาย
“สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติขอชื่นชมประเทศไทยที่ปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้ในการทบทวนสิทธิมนุษยชนครั้งล่าสุดตามกระบวนการ Universal Periodic Review หรือ UPR ทั้งนี้ หลังจากที่มีกรอบกฎหมายบังคับใช้ในประเทศแล้ว ประเทศไทยสามารถดำเนินการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance) และ พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Optional Protocol to the Convention against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment) ในลำดับถัดไป” ซินเทีย เวลิโก้ กล่าว “สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคฯ พร้อมที่จะให้การสนับสนุนทางเทคนิคแก่รัฐบาลตามที่มีความจำเป็น”
จบ
หากต้องการข้อมูลหรือสอบถามเพิ่มเติม โปรดติดต่อ: วรรณภร สมุทรอัษฎงค์ (065 986 0810 / @email) ประจำสำนักงานฯ ที่กรุงเทพมหานคร
แท็กและแชร์ – Twitter: @OHCHRAsia, Facebook: @OHCHRAsia และ Instagram @ohchr_asia