อ่านภาษาไทยด้านล่าง (Thai version below)

BANGKOK (4 October 2021) – The UN Human Rights Office for South-East Asia welcomes Thailand’s initial approval of the draft law on Prevention and Suppression of Torture and Enforced Disappearance and urges the Government to ensure the legislation fully meets international human rights standards and enact it promptly.

The draft law was approved on 16 September for review by Thailand’s House of Representatives, and the Ad-Hoc Committee appointed to review it is expected to start its consideration on 5 October.

Thailand ratified the Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment (CAT) in 2007 and signed the International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance (ICPPED) in 2012. But it has ratified neither the ICPPED nor the Optional Protocol to the Convention against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment (OPCAT).

In 2016, during its second cycle Universal Periodic Review (UPR) – a unique process which involves a review of the human rights records of all UN Member States – Thailand voluntarily pledged to become a party to several international treaties, including the ICPPED and the OPCAT. In its mid-term report for its second cycle UPR in 2019, Thailand stated that it will accede to the ICPPED only after the national law criminalizing torture and enforced disappearance is enacted.

The draft law incorporates key international principles of non-derogability of torture and non-refoulement, but the critical definitions of the crimes of torture and enforced disappearance are not in line with international law. The law also lacks penal provisions related to cruel, inhuman and degrading treatment or punishment. In addition, it does not address the issue of the inadmissibility of statements and other information obtained by torture, cruel, inhuman or degrading treatment as evidence in legal proceedings.

“We call on the Thai Government to enact, without further delay, a bill that includes all the relevant and necessary elements to ensure its full compliance with international standards and to realize its 2016 UPR voluntary pledge to ratify the ICPPED and the OPCAT,” said Cynthia Veliko, Regional Representative of the UN Human Rights Office for South-East Asia.

ENDS

For more information and media requests, please contact:  in Bangkok, Todd Pitman (+66 63 216 9080 / @email) or Wannaporn Samutassadong (+66 65 986 0810 / @email).

Tag and share – Twitter: @OHCHRAsia, Facebook: OHCHRAsia and Instagram @ohchr_asia

______________________________________

ประเทศไทยควรบังคับใช้กฎหมายเอาผิดทางอาญาการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายโดยเร็ว สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าว

กรุงเทพมหานคร (4 ตุลาคม 2564) – สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยินดีที่ประเทศไทยรับหลักการร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย และเรียกร้องให้รัฐบาลไทยบังคับใช้กฎหมายที่มีเนื้อหาสอดคล้องตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอย่างครบถ้วนโดยเร็ว

สภาผู้แทนราษฎรได้มีมติรับหลักการร่างพ.ร.บ.ฯ ฉบับนี้เพื่อนำมาพิจารณาเมื่อวันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา โดยคาดว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งได้รับการแต่งตั้งเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวจะประชุมครั้งแรกในวันที่ 5 ตุลาคมนี้

ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention Against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment หรือ CAT) เมื่อปี 2550 และลงนามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance หรือ ICPPED) เมื่อปี 2555 ทั้งนี้ ประเทศไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบันต่อ ICPPED และพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Optional Protocol to the Convention against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment หรือ OPCAT)

เมื่อปี 2559 ระหว่างที่มีการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (Universal Periodic Review หรือ UPR) ของประเทศไทย รอบที่ 2 นั้น ประเทศไทยได้ให้คำมั่นโดยสมัครใจว่าจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาระหว่างประเทศฉบับต่างๆ รวมถึง ICPPED และ OPCAT อีกทั้ง ในรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามกระบวนการ UPR รอบที่ 2 ฉบับกลางรอบ เมื่อปี 2562 นั้น ประเทศไทยกล่าวว่าจะภาคยานุวัติ ICPPED ต่อเมื่อมีการบังคับใช้กฎหมายภายในประเทศกำหนดความผิดทางอาญาการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย โดย UPR เป็นกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของรัฐสมาชิกสหประชาชาติทุกประเทศ

แม้ร่างพ.ร.บ.ฯ ฉบับนี้จะมีเนื้อหาครอบคลุมหลักการระหว่างประเทศที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการที่จะไม่ถูกทรมานเป็นสิทธิมนุษยชนที่ไม่อาจระงับชั่วคราวได้ (non-derogability of torture) และหลักการไม่ส่งใครกลับไปเผชิญอันตราย (non-refoulement) แต่นิยามหลักของอาชญากรรมการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายนั้นไม่เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ อีกทั้ง ร่าง พ.ร.บ.ฯ ยังขาดบทกำหนดความผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับการกระทำหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (cruel, inhuman and degrading treatment or punishment) และไม่ได้กล่าวถึงประเด็นเรื่องการยอมรับไม่ได้ของคำให้การ หรือข้อมูลอื่นที่ได้จากการทรมาน การกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรีเพื่อเป็นหลักฐานในกระบวนการทางกฎหมาย

“เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยบังคับใช้พ.ร.บ.ที่มีองค์ประกอบที่จำเป็นและเกี่ยวข้องทุกประการโดยไม่รีรออีกต่อไป เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศอย่างครบถ้วน และเป็นการปฏิบัติตามคำมั่นโดยสมัครใจที่ให้ไว้ในกระบวนการ UPR เมื่อปี 2559 ที่จะให้สัตยาบันต่อ ICPPED และ OPCAT” ซินเทีย เวลิโก้ ผู้แทนประจำภูมิภาค สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

จบ

หากต้องการข้อมูลหรือสอบถามเพิ่มเติม โปรดติดต่อ: ท็อด พิตแมน (063 216 9080 / @email) หรือ วรรณภร สมุทรอัษฎงค์ (065 986 0810 / @email) ประจำสำนักงานฯ ที่กรุงเทพมหานคร

แท็กและแชร์ Twitter: @OHCHRAsia, Facebook: OHCHRAsia และ Instagram @ohchr_asia