อ่านภาษาไทยด้านล่าง (Thai version below)
BANGKOK (17 July 2020) – After more than a decade of deliberation, it is critical that the proposed law criminalising torture and enforced disappearance in Thailand meet international human rights standards to ensure both prevention and justice for these heinous crimes, the UN Human Rights Office for South-East Asia said today.
The approval of the draft legislation by the Thai Cabinet is an important step, but the approved draft lacks essential international principles including the absolute prohibition of torture and non-refoulement – both non-derogable rights in international law. The definitions of the crimes in the proposed law are also not in line with international standards.
“A domestic law can provide effective judicial recourse to the victims and families if it is compliant with the Convention against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment (CAT) and the International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance (ICPPED),” said Cynthia Veliko, South-East Asia Regional Representative for the UN Human Rights Office in Bangkok.
Thailand has taken important steps to prevent torture through the ratification of CAT in 2007 and on disappearances by signing ICPPED in 2012. The draft domestic law is the long-awaited, necessary element to ensure that Thailand is in a position to fulfil its obligations as a State Party to CAT and provide the required enabling context for ratification and effective implementation of ICPPED.
“Significant time and resources have been expended over the years to finalize this bill and the deficiencies in the previous and current versions of the draft law have been routinely highlighted by civil society and International Human Rights Mechanisms,” Veliko said. “Thailand’s willingness to enact a bill into law that fully incorporates the principles enshrined in international human rights law would show its commitment to zero tolerance of torture and enforced disappearance as well as justice for victims of these crimes.”
ENDS
For more information and media requests, please contact: in Bangkok, Todd Pitman (+66 63 216 9080 / @email) or Wannaporn Samutassadong (+66 65 986 0810 / @email).
Tag and share – Twitter: @OHCHRAsia and Facebook OHCHRAsia
สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเรียกร้องให้ประเทศไทยบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการทรมานและการบังคับบุคคลสูญหายที่มีหลักการตามมาตรฐานสากลอย่างครบถ้วนโดยเร็ว
กรุงเทพมหานคร (17 กรกฎาคม 2563) – สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระบุว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่ร่างกฎหมายเอาผิดการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย ต้องมีหลักการตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศเพื่อป้องกันและอำนวยความยุติธรรมแก่อาชญากรรมร้ายแรงนี้ภายหลังการพิจารณามากว่าทศวรรษ
การที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัตินี้นับเป็นก้าวสำคัญ แต่ร่างกฎหมายดังกล่าวยังขาดหลักการสากลที่เป็นสาระสำคัญ ทั้งหลักการทรมานเป็นการกระทำต้องห้าม และหลักการไม่ผลักดันกลับไปเสี่ยงภัย (non-refoulement) ซึ่งต่างเป็นสิทธิที่ไม่อาจลดทอนได้ (non-derogable rights) ตามกฎหมายระหว่างประเทศ อีกทั้ง คำนิยามของการกระทำผิดในร่างกฎหมายนี้ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล
“กฎหมายภายในประเทศจะสามารถช่วยให้เหยื่อและครอบครัวได้รับสิทธิเรียกร้องตามกระบวนการยุติธรรมอย่างมีประสิทธิภาพได้ ก็ต่อเมื่อกฎหมายนั้นเป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment หรือ CAT) และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance หรือ ICPPED)” ซินเธีย เวลิโก้ ผู้แทนประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ณ กรุงเทพมหานคร กล่าว
ประเทศไทยได้ดำเนินการที่สำคัญเพื่อป้องกันการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย ด้วยการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานฯ เมื่อปี 2550 และลงนามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับเมื่อปี 2555 ร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นส่วนสำคัญที่รอคอยมานาน ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยอยู่ในสถานะที่จะสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีในฐานะรัฐภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานฯได้ และเป็นบริบทที่จำเป็นต่อการให้สัตยาบัน และบังคับใช้อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับอย่างมีประสิทธิภาพ
“เวลาและทรัพยากรจำนวนมากได้ทุ่มเทไปกับการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้แล้วเสร็จตลอดหลายปีที่ผ่านมา อีกทั้ง ภาคประชาสังคมและกลไกด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศได้ชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของร่างกฎหมายฉบับก่อนหน้าและฉบับปัจจุบันเสมอมา การที่ประเทศไทยพร้อมที่จะบังคับใช้ร่างพระราชบัญญัติซึ่งมีเนื้อหาตามหลักการในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอย่างครบถ้วนนั้น จะแสดงให้เห็นความมุ่งมั่นในการขจัดการทรมานและบังคับบุคคลให้สูญหายให้หมดสิ้น รวมถึงความมุ่งมั่นในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่เหยื่อของอาชญากรรมเหล่านี้” เวลิโก้ กล่าว
จบ
หากต้องการข้อมูลหรือสอบถามเพิ่มเติม โปรดติดต่อ: ท็อด พิตแมน (+66 63 216 9080 / @email) หรือ วรรณภร สมุทรอัษฎงค์ (+66 65 986 0810 / @email) ประจำสำนักงานฯ ที่กรุงเทพฯ
แท็กและแชร์ – Twitter: @OHCHRAsia และ Facebook: OHCHRAsia