International Day of the Victims of Enforced Disappearances – 30 August 2020
อ่านภาษาไทยด้านล่าง (Thai version below)
BANGKOK (28 August 2020) – Expressing profound concern over reports of enforced disappearances that have continued in a number of countries across South-East Asia, the UN Human Rights Office is urgently calling on States in the region to criminalize this egregious act and to prioritize ratification of the International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance.
“The time has come to end these heinous crimes in South-East Asia. Strong commitments are needed by States to achieve that goal through adopting domestic legislation that meets international norms and standards and by fully implementing the Convention, including establishing appropriate domestic institutional mechanisms to investigate allegations of disappearances,” Cynthia Veliko, Regional Representative of the UN Human Rights Office in Bangkok, said in a statement marking the International Day of the Victims of Enforced Disappearances.
Only one country in South-East Asia – Cambodia – has ratified the International Convention, and three other nations – Indonesia, Lao PDR and Thailand – are signatories but have yet to become States Parties.
The UN Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances, which is mandated to assist families in determining the fate or whereabouts of victims, has documented at least 1,301 cases that remain unresolved in South-East Asia. Almost half of those cases are from the Philippines. In the past three years, cases of enforced disappearances have been reported in Cambodia, Lao PDR, Malaysia, the Philippines, Thailand and Viet Nam. Indonesia is also dealing with a historical legacy of disappearances, including those committed in Timor-Leste.
“Enforced disappearance is one of the worst possible human rights violations that can be committed, robbing families of the knowledge, often forever, of the fate of their loved ones,” Veliko said. “Families have the right to know and it is the responsibility of every Government to urgently resolve these cases, to put in place mechanisms to prevent it from occurring, and to fulfil their obligations under international human rights law.”
The Convention defines enforced disappearance as an “arrest, detention, abduction or any other form of deprivation of liberty by agents of the State or by persons or groups of persons acting with the authorization, support or acquiescence of the State, followed by a refusal to acknowledge the deprivation of liberty or by concealment of the fate or whereabouts of the disappeared person, which place such a person outside the protection of the law.” The Convention provides that no one shall be subject to such an action without exception, even in times of war, and provides that it constitutes a crime against humanity when practiced in a widespread or systematic matter.
In South-East Asia, individuals have been targeted for exercising their fundamental right to freedom of expression, association and peaceful assembly. Victims have included human rights defenders, environmental and political activists, government critics, lawyers and journalists.
“Impunity for this horrific act must end. Timely and credible investigations must be undertaken, the perpetrators must be identified and brought to justice and families provided the right to reparation,” Veliko said. “There should be no further delays in making this a punishable offense in every country together with legal standards that ensure full disclosure, transparency and accountability for all persons deprived of their liberty.”
The UN Human Rights Office in Bangkok is committed to working with States to ensure those goals are fully achieved.
ENDS
Learn more about the Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances here: https://www.ohchr.org/en/issues/disappearances/pages/disappearancesindex.aspx/
The Regional Office for South-East Asia in Bangkok represents the High Commissioner for Human Rights within South East Asia. The High Commissioner for Human Rights is the principal human rights official of the United Nations and heads the Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights, which spearheads the United Nations’ human rights efforts.
For more information and media requests, please contact: in Bangkok, Todd Pitman (+66 63 216 9080 / @email) or Wannaporn Samutassadong (+66 65 986 0810 / @email).
Tag and share – Twitter: @OHCHRAsia and Facebook OHCHRAsia
วันผู้สูญหายสากล – 30 สิงหาคม 2563
สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเรียกร้องให้รัฐเอาผิด
การกระทำให้สูญหายโดยถูกบังคับ และให้สัตยาบันต่ออนุสัญญา
กรุงเทพมหานคร (28 สิงหาคม 2563) – สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติมีความกังวลต่อรายงานการสูญหายโดยถูกบังคับที่ยังคงเพิ่มขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมเรียกร้องให้รัฐในภูมิภาคเอาผิดการกระทำอันเลวร้ายอย่างมหันต์นี้อย่างเร่งด่วน และให้ความสำคัญในการให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance) เป็นลำดับแรก
“ถึงเวลาแล้วที่อาชญากรรมอันร้ายแรงนี้จะยุติลงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รัฐจำเป็นต้องมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าว ด้วยการรับรองกฏหมายภายในประเทศที่เป็นไปตามบรรทัดฐานและมาตรฐานสากล และด้วยการบังคับใช้อนุสัญญาฯ อย่างครบถ้วน ซึ่งรวมถึงการจัดตั้งกลไกทางสถาบันภายในประเทศที่เหมาะสมเพื่อสอบสวนข้อกล่าวหาการกระทำให้สูญหาย” ซินเธีย เวลิโก้ ผู้แทนประจำภูมิภาค สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ณ กรุงเทพมหานคร กล่าวในแถลงการณ์เนื่องในวันผู้สูญหายโดยถูกบังคับสากล.
ประเทศกัมพูชา เป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศฉบับดังกล่าว ประเทศอินโดยนีเซีย สาธารณรัฐประชาชนลาว และประเทศไทย เป็นอีกสามประเทศที่ได้ลงนามในอนุสัญญาฯ แต่ยังไม่ได้เข้าเป็นประเทศภาคี
คณะทำงานว่าด้วยการสูญหายโดยถูกบังคับหรือไม่สมัครใจ ซึ่งมีอาณัติในการช่วยเหลือครอบครัวในการติดตามชะตากรรมและที่อยู่ของผู้สูญหายได้บันทึกกรณีการสูญหายโดยถูกบังคับซึ่งยังไม่ได้รับการคลี่คลายอย่างน้อย 1,301 รายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกือบครึ่งหนึ่งของทั้งหมดมาจากประเทศฟิลิปปินส์ ในระยะเวลาสามปีที่ผ่านมา มีรายงานการสูญหายโดยถูกบังคับในประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ประเทศอินโดนีเซียยังคงเผชิญกับร่องรอยแห่งการสูญหายทางประวัติศาสตร์ในอดีต ซึ่งรวมถึงกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศติมอร์-เลสเต
“การสูญหายโดยถูกบังคับเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ ทั้งพรากการรับรู้ชะตากรรมของคนที่เขารักจากครอบครัวไปตลอดกาลในหลายครั้ง” เวลิโก้ กล่าว “ครอบครัวมีสิทธิที่จะได้รับรู้ และนั่นเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลทุกประเทศในการคลี่คลายกรณีเหล่านี้อย่างเร่งด่วน วางกลไกเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ และปฏิบัติตามพันธะกรณีที่มีตามกฎหมายระหว่างประเทศ”
อนุสัญญาฉบับนี้ได้ให้นิยามการสูญหายโดยถูกบังคับว่า หมายถึง “การจับกุม กักขัง ลักพาตัว หรือการกระทำในรูปแบบใดๆ ก็ตามที่เป็นการลิดรอนเสรีภาพโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งดำเนินการโดยได้รับการอนุญาต การสนับสนุนหรือการยอมรับโดยปริยายของรัฐ ตามมาด้วยการ
ปฏิเสธที่จะยอมรับว่าได้มีการลิดรอนเสรีภาพ หรือการปกปิดชะตากรรมหรือที่อยู่ของบุคคลที่หายสาบสูญ ซึ่งส่งผลให้บุคคลดังกล่าวตกอยู่ภายนอกการคุ้มครองของกฎหมาย” อนุสัญญาฯ ได้ระบุไว้ว่า บุคคลจะถูกกระทำให้สูญหายโดยถูกบังคับไม่ได้โดยไม่มีข้อยกเว้น แม้กระทั่งในภาวะสงคราม และระบุไว้อีกว่าการกระทำนี้ถือเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ หากมีการดำเนินการอย่างกว้างขวางหรือเป็นระบบ
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจเจกชนตกเป็นเป้าหมายจากการใช้สิทธิขั้นพื้นฐานในเสรีภาพการแสดงออก การสมาคม และชุมนุมโดยสงบ ผู้สูญหายมีตั้งแต่นักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรมทางการเมืองและสิ่งแวดล้อม ผู้วิพาษณ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล ทนาย และนักข่าว
“การพ้นผิดลอยนวลจากการกระทำอันเลวร้ายนี้จะต้องยุติลง การสอบสวนอย่างทันท่วงทีและน่าเชื่อถือต้องเกิดขึ้น ผู้กระทำผิดจะต้องถูกระบุตัวตนและเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ครอบครัวต้องได้รับสิทธิในการได้รับการเยียวยา” เวลิโก้ กล่าว “ไม่ควรมีความล่าช้าในการทำให้การกระทำผิดนี้ต้องได้รับโทษทางกฎหมายในประเทศใดอีกแล้ว รวมถึงมาตรฐานทางกฎหมายที่รับรองการเปิดเผย ความโปร่งใส และความรับผิดชอบอย่างครบถ้วนแก่บุคคลทุกคนที่ถูกลิดรอนเสรีภาพ”
สำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ณ กรุงเทพมหานคร มีความมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกับรัฐเพื่อให้จุดมุ่งหมายเหล่านี้บรรลุผลอย่างครบถ้วน
จบ
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคณะทำงานว่าด้วยการสูญหายโดยถูกบังคับหรือไม่สมัครใจได้ที่ https://www.ohchr.org/en/issues/disappearances/pages/disappearancesindex.aspx/
สำนักงานฯ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ กรุงเทพมหานคร เป็นตัวแทนของข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเป็นเจ้าหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชนระดับสูงสุดขององค์การสหประชาติและเป็นหัวหน้าสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งขับเคลื่อนงานด้านสิทธิมนุษนชนขององค์การสหประชาชาติ
หากต้องการข้อมูลหรือสอบถามเพิ่มเติม โปรดติดต่อ: ท็อด พิตแมน (+66 63 216 9080 / @email) หรือ วรรณภร สมุทรอัษฎงค์ (+66 65 986 0810 / @email) ประจำสำนักงานฯ ที่กรุงเทพฯ
แท็กและแชร์ – Twitter: @OHCHRAsia และ Facebook: OHCHRAsia