Thai version below

อ่านภาษาไทยด้านล่าง

BANGKOK (18 March 2020) – The UN Human Rights Office for South-East Asia condemns the attacks carried out by insurgent groups against civilians in one of Thailand’s southern border provinces, calling it a serious violation of international law.

On 17 March, two explosive devices detonated in front of the Southern Border Provinces Administrative Center in Muang district, in Yala province, where a meeting on the prevention and control of the COVID-19 virus was being held by government officials.

According to local sources, governors and health officials from five southern provinces, journalists, and police officers attended the meeting and a minimum of 25 people, mostly civilians and at least 10 women, were injured as a result of the attack.

“The indiscriminate use of weapons targeting civilians is prohibited under international customary law and carrying out such attacks during a public health emergency is unconscionable,” said Cynthia Veliko, Regional Representative of the UN Human Rights Office in Bangkok.

“We condemn this attack in the strongest terms and urge full respect for international legal obligations,” Veliko said.

ENDS

For more information and media requests, please contact:  in Bangkok, Todd Pitman (+66 63 216 9080 / @email) or Wannaporn Samutassadong ((+66 65 986 0810 / @email).

Tag and share – Twitter: @OHCHRAsia and Facebook OHCHRAsia

 

ประเทศไทย: สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติยินดีกับคำตัดสินยกฟ้อง

คดีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

กรุงเทพมหานคร (8 มิถุนายน 2563) – สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยินดีกับคำตัดสินยกฟ้องนักปกป้องสิทธิมนุษยชนสองคนที่ถูกบริษัทธรรมเกษตร จำกัด ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก ฟ้องฐานหมิ่นประมาท วันนี้

ศาลอาญากรุงเทพได้มีคำพิพากษาคดีฟ้องหมิ่นประมาทนานวิน ชาวเมียนมาอดีตแรงงานข้ามชาติ และสุธารี วรรณศิริ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนและอดีตเจ้าหน้าที่ขององค์กรสิทธิมนุษยชนฟอร์ตี้ฟายไรต์ โดยข้อกล่าวหาเกิดจากที่ทั้งสองคนมีความเกี่ยวข้องในการจัดแถลงข่าวเรื่องสิทธิแรงงานและเผยแพร่วิดีโอที่วิจารณ์สภาพการทำงานของแรงงานข้ามชาติในบริษัทธรรมเกษตรบนสื่อสังคมออนไลน์

บริษัทในประเทศไทยได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์มานานถึง “การฟ้องคดีเชิงยุทธศาสตร์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการมีส่วนร่วมของสังคม” หรือที่รู้จักว่า “การฟ้องคดีปิดปาก” (Strategic Litigation Against Public Participation – SLAPP) เพื่อปิดปากหรือคุกคามองกรค์ภาคประชาสังคมและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

“คำตัดสินคดีนี้ได้แสดงให้เห็นว่าปัจเจกชนผู้แสดงความห่วงกังวลอย่างชอบธรรมถึงการละเมิดในภาคธุรกิจ สามารถและควรได้รับการปกป้องจากการฟ้องคดีปิดปากอย่างไร ตามหลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (the UN Guiding Principles on Business and Human Rights)” ซินเทีย เวลิโก้ ผู้แทนประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ณ กรุงเทพมหานคร กล่าว

เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2562 ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียที่รับรองแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน การปกป้องนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจากการฟ้องคดีปิดปากเป็นหนึ่งในข้อปฏิบัติสี่ประการหลักของแผนปฏิบัติการนี้

การฟ้องคดีหมิ่นประมาทนานวิน และสุธารี วรรณศิรินี้ เป็นเพียงหนึ่งในอีกหลายคดีที่บริษัทธรรมเกษตรและบริษัทอื่นๆ ในประเทศไทยฟ้องนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและเหล่าแรงงาน โดยคดีการฟ้องปิดปากส่วนใหญ่ในประเทศไทยในปี 2562 เป็นการฟ้องผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

“คดีดังกล่าวก่อให้เกิดบรรยากาศความหวาดกลัว การเซ็นเซอร์ตัวเอง และสร้างความเครียด ภาระทางการเงินที่เกินความจำเป็น และความกังวลต่อความปลอดภัยในชีวิต การบังคับใช้มาตรการป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการแห่งชาติของประเทศไทย และยุติการฟ้องคดีปิดปากเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง” เวลิโก้ กล่าว

จบ  

หากต้องการข้อมูลหรือสอบถามเพิ่มเติม โปรดติดต่อ ท็อด พิตแมน (+66 63 216 9080 / @email หรือ วรรณภร สมุทรอัษฎงค์ (+66 65 986 0810 / @email)

ประเทศไทย: สำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติประณามการก่อเหตุระหว่างการประชุมเรื่องโควิด-19

กรุงเทพมหานคร (18 มีนาคม 2563) – สำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประณามการก่อเหตุของผู้ก่อความไม่สงบกับพลเรือนในจังหวัดชายแดนภาคใต้จังหวัดหนึ่งอย่างที่สุด โดยเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม เกิดเหตุระเบิดสองครั้งหน้าศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นสถานที่จัดการประชุมเพื่อแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ของหน่วยงานราชการ

รายงานท้องถิ่นระบุว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจาก 5 จังหวัดในภาคใต้ นักข่าว และเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว และมีผู้บาดเจ็บจากเหตุระเบิดดังกล่าวอย่างน้อย 25 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นพลเรือน และในจำนวนนี้อย่างน้อย 10 คนเป็นผู้หญิง

“การใช้อาวุธอย่างไม่เลือกปฏิบัติโดยมีเป้าหมายเป็นพลเรือนเป็นข้อห้ามภายใต้กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ และการก่อเหตุดังกล่าวระหว่างที่มีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นการกระทำที่ไม่สามารถยอมรับได้” ซินเทีย เวลิโก้ ผู้แทนประจำภูมิภาคของสำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ณ กรุงเทพมหานคร กล่าว

“เราประณามการก่อเหตุครั้งนี้อย่างที่สุดและขอเรียกร้องให้เคารพต่อพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ”

จบ

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ ท็อด พิตแมน (+66 63 216 9080 / @email หรือ วรรณภร สมุทรอัษฎงค์ (+66 65 986 0810)@email)

แท็กและแชร์ – Twitter: @OHCHRAsia and Facebook OHCHRAsia