MEDIA ADVISORY

Thailand’s human rights record to be examined by Universal Periodic Review

ประเทศไทยเตรียมเข้าสู่กระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามระยะ

The meeting will be webcast live on Wednesday, 10 November at 3.00-6.30 PM Bangkok time (GMT+7 hour)

at http://webtv.un.org

นครเจนีวา (5 พฤศจิกายน 2021) – ประเทศไทยจะเข้าสู่การกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนโดยคณะทำงานกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามระยะ (Universal Periodic Review Working Group) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเป็นครั้งที่สาม ในการประชุมที่จะมีขึ้นในวันพุธที่ 10 พฤศจิกายน 2564 นี้ โดยจะมีการถ่ายทอดสดผ่านทางเว็บไซด์

ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 13 ประเทศที่คณะทำงาน UPR จะทำการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในการประชุมสมัยที่กำลังจะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1–12 พฤศจิกายน* ก่อนหน้านี้ประเทศไทยได้เข้าสู่กระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามระยะครั้งที่หนึ่งและสองไปแล้ว เมื่อเดือนตุลาคม 2554 และพฤษภาคม 2559 ตามลำดับ

เอกสารที่นำมาเป็นมูลฐานของการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ได้แก่ 1) รายงานของประเทศ (national report) คือ ข้อมูลที่รวบรวมโดยรัฐที่จะเข้าสู่กระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน 2) ข้อมูลที่ปรากฎในรายงานของผู้เชี่ยวชาญหรือคณะทำงานอิสระด้านสิทธิมนุษยชน หรือที่เรียกว่ากลไกพิเศษ (Special Procedures) คณะกรรมการประจำสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชน (human rights treaty bodies) และหน่วยงานอื่นๆ ของสหประชาชาติ 3) ข้อมูลที่รวบรวมโดยผู้ที่มีความเกี่ยวข้องอื่นๆ รวมถึง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หน่วยงานระดับภูมิภาค และกลุ่มภาคประชาสังคม

รายงานทั้งสามฉบับดังกล่าวซึ่งเป็นมูลฐานของการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยในวันที่ 10 พฤศจิกายนที่จะถึงนี้ สามารถเข้าถึงได้แล้วที่นี่

สถานที่: ห้อง XX สํานักงานสหประชาชาติ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (หมายเหตุ: เนื่องจากมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 การประชุมจะจัดในรูปแบบผสมระหว่างการเข้าร่วมแบบตัวต่อตัวและทางไกล โดยตัวแทนสื่อมวลชนสามารถติดตามการประชุมจากการถ่ายทอดสดผ่านทางเว็บไซด์

วันและเวลา: วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน เวลา 15.00–18.30 น. ตามเวลาท้องถิ่นประเทศไทย (ตรงกับเวลา 09.00–12.30 น. ตามเวลาท้องถิ่นนครเจนีวา หรือ GMT+1)

Universal Periodic Review หรือ UPR เป็นกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามระยะของรัฐสมาชิกสหประชาชาติทุกประเทศจำนวน 193 ประเทศ หลังจากการประชุมครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2551 รัฐสมาชิกสหประชาชาติทั้งหมด 193 ประเทศได้รับการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามระยะไปแล้วทั้งสิ้นสองครั้งตามวงรอบที่หนึ่งและสอง โดยระหว่างกระบวนการทบทวนตามวงรอบที่สามนี้ คาดว่ารัฐสมาชิกจะรายงานการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ได้รับระหว่างกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนครั้งก่อนหน้าตามคำมั่นที่ให้ไว้ และจะนำเสนอพัฒนาการด้านสิทธิมนุษยชนล่าสุดภายในประเทศ

คณะผู้แทนของประเทศไทยจะนำโดยนายธานี ทองภักดี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ

ขณะที่ประเทศผู้แทนที่จะทำหน้าที่เป็นผู้รายงาน (rapporteurs หรือ troika) ของกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ประกอบด้วย สาธารณรัฐบัลแกเรีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐโกตดิวัวร์

การประชุมจะมีการถ่ายทอดสดผ่านทางเว็บไซด์ http://webtv.un.org

รายชื่อผู้พูดและถ้อยแถลงการณ์ที่จะออกทั้งหมดระหว่างกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยจะรวบรวมไว้ที่ UPR Extranet

คณะทำงานกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามระยะ (Universal Periodic Review Working Group) มีกำหนดการจะรับรองข้อเสนอแนะที่ให้ต่อประเทศไทยในวันที่ 12 พฤศจิกายน เวลา 23.00 . ตามเวลาท้องถิ่นประเทศไทย (ตรงกับเวลา 17.00 . ตามเวลาท้องถิ่นนครเจนีวา) โดยรัฐสมาชิกที่ได้รับการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนอาจมีความประสงค์ที่จะแสดงจุดยืนต่อข้อเสนอแนะที่ได้รับจากกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามระยะ

*เดิมการประชุมสมัยที่ 39 ของกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามระยะ (Universal Periodic Review หรือ UPR) มีกำหนดการจะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2564 แต่มีเหตุต้องเลื่อนออกไปเพราะมาตรการควบคุมโรคโควิด-19

จบ

หากท่านต้องการข้อมูลหรือสอบถามเพิ่มเติม โปรดติดต่อ Rolando Gómez, HRC Media Officer ที่ @email หรือ Matthew Brown, HRC Public Information Officer ที่ @email หรือ Pascal Sim, HRC Public Information Officer ที่ @email 

ท่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามระยะ (Universal Periodic Review) ได้ที่เว็บไซด์ www.ohchr.org/hrc/upr

ท่านสามารถติดตามคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติทางสื่อสังคมออนไลน์ได้ที่ Facebook Twitter YouTube Instagram