MEDIA ADVISORY
Thailand’s human rights record to be examined by Universal Periodic Review
ประเทศไทยเตรียมเข้าสู่กระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามระยะ
The meeting will be webcast live on Wednesday, 10 November at 3.00-6.30 PM Bangkok time (GMT+7 hour)
GENEVA (5 November 2021) – Thailand’s human rights record will be examined by the UN Human Rights Council’s Universal Periodic Review (UPR) Working Group for the third time on Wednesday, 10 November 2021 in a meeting that will be webcast live.
Thailand is one of the 13 States to be reviewed by the UPR Working Group during its session currently taking place from 1 to 12 November*. Thailand’s first and second UPR reviews took place in October 2011 and May 2016, respectively.
The documents on which the reviews are based are: 1) national report – information provided by the State under review; 2) information contained in the reports of independent human rights experts and groups, known as the Special Procedures, human rights treaty bodies, and other UN entities; 3) information provided by other stakeholders including national human rights institutions, regional organizations and civil society groups.
The three reports serving as the basis for the review of Thailand on 10 November can be found here.
Location: Room XX, Palais des Nations, Geneva [NB: Due to COVID-19 restrictions, the meeting will be held using a combination of in-person and remote participation, and media representatives are encouraged to follow the proceedings on webcast.
Time and date: 09.00 – 12.30, Wednesday, 10 November (Geneva time, GMT +1 hour)
The UPR is a unique process which involves a periodic review of the human rights records of all 193 UN Member States. Since its first meeting was held in April 2008, all 193 UN member States have been reviewed twice within the first and second UPR cycles. During the third UPR cycle, States are again expected to spell out steps they have taken to implement recommendations posed during their previous reviews which they committed to follow-up on, as well as to highlight recent human rights developments in the country.
The delegation of Thailand will be led by Mr. Thani Thongphakdi, Permanent Secretary, Ministry of Foreign Affairs
The three country representatives serving as rapporteurs (“troika”) for the review of Thailand are: Bulgaria, China and Côte d’Ivoire.
The webcast of the session will be at http://webtv.un.org
The list of speakers and all available statements to be delivered during the review of Thailand will be posted on the UPR Extranet
The UPR Working Group is scheduled to adopt the recommendations made to Thailand at 17.00 on 12 November. The State under review may wish to express its positions on recommendations posed to it during their review.
* The UPR 39th session was originally scheduled to be held in May 2021, although was postponed due to COVID-19 measures.
ENDS
For more information and media requests, please contact Rolando Gómez, HRC Media Officer, at rolando.gomez@un.org , Matthew Brown, HRC Public Information Officer, at matthew.brown@un.org, or Pascal Sim, HRC Public Information Officer, at simp@un.org
To learn more about the Universal Periodic Review, visit: www.ohchr.org/hrc/upr
UN Human Rights Council, follow us on social media: Facebook Twitter YouTube Instagram
นครเจนีวา (5 พฤศจิกายน 2021) – ประเทศไทยจะเข้าสู่การกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนโดยคณะทำงานกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามระยะ (Universal Periodic Review Working Group) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเป็นครั้งที่สาม ในการประชุมที่จะมีขึ้นในวันพุธที่ 10 พฤศจิกายน 2564 นี้ โดยจะมีการถ่ายทอดสดผ่านทางเว็บไซด์
ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 13 ประเทศที่คณะทำงาน UPR จะทำการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในการประชุมสมัยที่กำลังจะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1–12 พฤศจิกายน* ก่อนหน้านี้ประเทศไทยได้เข้าสู่กระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามระยะครั้งที่หนึ่งและสองไปแล้ว เมื่อเดือนตุลาคม 2554 และพฤษภาคม 2559 ตามลำดับ
เอกสารที่นำมาเป็นมูลฐานของการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ได้แก่ 1) รายงานของประเทศ (national report) คือ ข้อมูลที่รวบรวมโดยรัฐที่จะเข้าสู่กระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน 2) ข้อมูลที่ปรากฎในรายงานของผู้เชี่ยวชาญหรือคณะทำงานอิสระด้านสิทธิมนุษยชน หรือที่เรียกว่ากลไกพิเศษ (Special Procedures) คณะกรรมการประจำสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชน (human rights treaty bodies) และหน่วยงานอื่นๆ ของสหประชาชาติ 3) ข้อมูลที่รวบรวมโดยผู้ที่มีความเกี่ยวข้องอื่นๆ รวมถึง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หน่วยงานระดับภูมิภาค และกลุ่มภาคประชาสังคม
รายงานทั้งสามฉบับดังกล่าวซึ่งเป็นมูลฐานของการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยในวันที่ 10 พฤศจิกายนที่จะถึงนี้ สามารถเข้าถึงได้แล้วที่นี่
สถานที่: ห้อง XX สํานักงานสหประชาชาติ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (หมายเหตุ: เนื่องจากมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 การประชุมจะจัดในรูปแบบผสมระหว่างการเข้าร่วมแบบตัวต่อตัวและทางไกล โดยตัวแทนสื่อมวลชนสามารถติดตามการประชุมจากการถ่ายทอดสดผ่านทางเว็บไซด์
วันและเวลา: วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน เวลา 15.00–18.30 น. ตามเวลาท้องถิ่นประเทศไทย (ตรงกับเวลา 09.00–12.30 น. ตามเวลาท้องถิ่นนครเจนีวา หรือ GMT+1)
Universal Periodic Review หรือ UPR เป็นกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามระยะของรัฐสมาชิกสหประชาชาติทุกประเทศจำนวน 193 ประเทศ หลังจากการประชุมครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2551 รัฐสมาชิกสหประชาชาติทั้งหมด 193 ประเทศได้รับการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามระยะไปแล้วทั้งสิ้นสองครั้งตามวงรอบที่หนึ่งและสอง โดยระหว่างกระบวนการทบทวนตามวงรอบที่สามนี้ คาดว่ารัฐสมาชิกจะรายงานการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ได้รับระหว่างกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนครั้งก่อนหน้าตามคำมั่นที่ให้ไว้ และจะนำเสนอพัฒนาการด้านสิทธิมนุษยชนล่าสุดภายในประเทศ
คณะผู้แทนของประเทศไทยจะนำโดยนายธานี ทองภักดี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
ขณะที่ประเทศผู้แทนที่จะทำหน้าที่เป็นผู้รายงาน (rapporteurs หรือ troika) ของกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ประกอบด้วย สาธารณรัฐบัลแกเรีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐโกตดิวัวร์
การประชุมจะมีการถ่ายทอดสดผ่านทางเว็บไซด์ http://webtv.un.org
รายชื่อผู้พูดและถ้อยแถลงการณ์ที่จะออกทั้งหมดระหว่างกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยจะรวบรวมไว้ที่ UPR Extranet
คณะทำงานกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามระยะ (Universal Periodic Review Working Group) มีกำหนดการจะรับรองข้อเสนอแนะที่ให้ต่อประเทศไทยในวันที่ 12 พฤศจิกายน เวลา 23.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นประเทศไทย (ตรงกับเวลา 17.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นนครเจนีวา) โดยรัฐสมาชิกที่ได้รับการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนอาจมีความประสงค์ที่จะแสดงจุดยืนต่อข้อเสนอแนะที่ได้รับจากกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามระยะ
*เดิมการประชุมสมัยที่ 39 ของกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามระยะ (Universal Periodic Review หรือ UPR) มีกำหนดการจะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2564 แต่มีเหตุต้องเลื่อนออกไปเพราะมาตรการควบคุมโรคโควิด-19
จบ
หากท่านต้องการข้อมูลหรือสอบถามเพิ่มเติม โปรดติดต่อ Rolando Gómez, HRC Media Officer ที่ rolando.gomez@un.org หรือ Matthew Brown, HRC Public Information Officer ที่ matthew.brown@un.org หรือ Pascal Sim, HRC Public Information Officer ที่ simp@un.org
ท่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามระยะ (Universal Periodic Review) ได้ที่เว็บไซด์ www.ohchr.org/hrc/upr
ท่านสามารถติดตามคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติทางสื่อสังคมออนไลน์ได้ที่ Facebook Twitter YouTube Instagram