อ่านภาษาไทยด้านล่าง
UN Human Rights Office for South-East Asia welcomes Thailand’s ratification of the International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance
BANGKOK (13 June 2024) – The UN Human Rights Office (OHCHR) for South-East Asia welcomes the ratification of the International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance (ICPPED) by Thailand, which entered into force today following the accession on 14 May 2024.
The ratification comes one year after the entry into force of the Act on Prevention and Suppression of Torture and Enforced Disappearance which represents a critical milestone in Thailand’s domestic law criminalizing torture and enforced disappearances.
“By ratifying the ICPPED, Thailand reaffirms its commitments made during its last Universal Periodic Review (UPR) and during the 75th anniversary of the Universal Declaration of Human Rights to protect all persons from enforced disappearances and to eliminate such heinous crimes that violate a wide range of human rights and inflict indelible and long-lasting trauma on the lives of families and communities,” said Cynthia Veliko, Regional Representative of the UN Human Rights Office for South-East Asia.
As of August 2023, Thailand has 77 cases of enforced disappearances pending with the UN Working Group on Enforced or Involuntary Disappearance, which are yet to be resolved.
“Their families and communities have been forced to live with unbearable uncertainty, some for decades. They are entitled to know the truth and must receive redress,” Veliko said.
In this context, Article 24 of the Convention recognizes that each victim has the right to know the truth regarding the circumstances of the enforced disappearance, the progress and results of the investigation into the fate of the disappeared person as well as the right to obtain reparation and prompt, fair and adequate compensation.
“All branches of government (executive, legislative and judicial) are bound by the obligations articulated in the Convention. It will be critical that the Government ensures justice and the resolution of past cases, as well as the timely and comprehensive integration of the provisions of the ICPPED into national laws, policies and practices for purposes of full compliance and accountability,” Veliko said.
For more information and media requests, please contact: Wannaporn Samutassadong (+66 65 986 0810) / wannaporn.samutassadong@un.org)
Tag and share:
Twitter: @OHCHRAsia
Facebook: OHCHRAsia
Instagram: @ohchr_asia
______________________
สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติยินดีที่ประเทศไทยให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ
กรุงเทพมหานคร (13 มิถุนายน 2564) – สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยินดีที่ประเทศไทยให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance หรือ ICPPED) ซึ่งมีผลบังคับใช้วันนี้ หลังจากที่ประเทศไทยตกลงเข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567
ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับนี้หนึ่งปีหลังจากที่บังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ซึ่งเป็นหมุดหมายสำคัญที่ประเทศไทยมีกฎหมายภายในประเทศที่ทำให้การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายเป็นความผิดทางอาญา
“การที่ให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับนี้ นับเป็นการเน้นย้ำถึงการปฏิบัติตามคำมั่นที่ประเทศไทยให้ไว้ในกระบวนการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนตามวงรอบครั้งล่าสุด (Universal Periodic Review) และในโอกาสครบรอบ 75 ปีปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Human Rights 75) เพื่อปกป้องคนทุกคนจากการกระทำให้สูญหายและขจัดอาชญากรรมอันเลวร้ายนี้ ซึ่งละเมิดสิทธิมนุษชนหลายประการ และสร้างบาดแผลและความบอบช้ำที่ยาวนานให้กับครอบครัวและชุมชน”ซินเธีย เวลิโก้ ผู้แทนประจำภูมิภาค สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติกล่าว
ทั้งนี้ ณ เดือนสิงหาคม 2567 ประเทศไทยมีกรณีการกระทำให้สูญหายที่คณะทำงานแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการกระทำให้บุคคลสูญหายโดยถูกบังคับหรือไม่สมัครใจบันทึกไว้ทั้งสิ้น 77 กรณี โดยล้วนยังไม่ได้รับความกระจ่าง
“ครอบครัวและชุมชนของผู้สูญหายถูกปล่อยไว้ให้อยู่กับความคลุมเครืออันเจ็บปวดรวดร้าว และบางครอบครัวต้องอยู่กับความรู้สึกดังกล่าวเป็นเวลาหลายสิบปี พวกเขาพึงได้รับรู้ความจริงและต้องได้รับการเยียวยา” เวลิโก้ กล่าว
ทั้งนี้ บทบัญญัติข้อที่ 24 ของอนุสัญญาฯ กล่าวว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำให้สูญหายมีสิทธิที่จะได้รับรู้ความจริงถึงเหตุอันทำให้เกิดการกระทำให้สูญหาย ความคืบหน้าและผลการสอบสวนชะตากรรมของผู้สูญหาย รวมถึงมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาและการชดเชยที่ทันกาล ยุติธรรม และเพียงพอ
“ทุกฝ่ายของอำนาจรัฐ ไม่ว่าจะเป็นบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ต่างผูกพันตามพันธะกรณีที่บัญญัติไว้ในอนุสัญญาฉบับนี้ สำคัญอย่างยิ่งที่รัฐบาลต้องทำให้ความยุติธรรมในการคลี่คลายกรณีการกระทำให้บุคคลสูญหายในอดีต และมีการนำบทบัญญัติของอนุสัญญาฯ ไปปรับใช้กับกฎหมาย นโยบาย และการปฏิบัติภายในประเทศอย่างครอบคลุมและทันท่วงที เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการความรับผิดชอบของรัฐ และกฎหมายระหว่างประเทศอย่างสมบูรณ์” เวลิโก้ กล่าว
จบ
หากต้องการข้อมูลหรือสอบถามเพิ่มเติม โปรดติดต่อ: วรรณภร สมุทรอัษฎงค์ (065 986 0810 / wannaporn.samutassadong@un.org)
แท็กและแชร์:
Twitter: @OHCHRAsia
Facebook: OHCHRAsia
Instagram: @ohchr_asia